กล่องข้อความ: 		7-50100-001-153  		  ชื่อพื้นเมือง	:  พลับพลึงตีนเป็ด,     พลับพลึงหนู,           พลับพลึงแมงมุม,     พลับพลึงเตือน  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Hymenocallis littoralis Salisb.  ชื่อวงศ์	:  AMARYLLIDACEAE  ชื่อสามัญ	:  Spider  lily  ประโยชน์	:  ต้มดื่มทำให้อาเจียน แก้เคล็ดขับยอก แก้น้ำดีพิการ

บริเวณที่พบ : แปลงเกษตร
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ประดับ
ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มขนาดเล็ก มีหัวใต้ดินลักษณะเป็นกลีบๆเรียงเวียนเป็นวงซ้อนอัดแน่นเป็นลำต้นเทียม
เจริญเติบโตเป็นช่อชูส่วนของใบขึ้นมาเหนือดิน แตกกอ
ต้น
: มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลมสูงประมาณ 30 ซม. ใบ รูปแถบแคบเรียวแหลม ออกตรงข้ามกันสองข้าง ขอบใบเรียบ อวบน้ำ
ใบ :ใบเดี่ยว  เรียงเวียนสลับถี่รอบต้น ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-5 เซนติเมตร  ยาว 100-120 เซนติเมตร   ปลายเรียวมนถึงแหลมทู่ โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา  สีเขียวเป็นมัน ปลายใบอ่อนโค้งลง
ดอก : สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มที่กลางต้น ก้านช่อดอกแข็งและค่อนข้างแบนยาว 30-45เซนติเมตร
ช่อละ 4-8 ดอก  ดอกย่อยเกิดเดี่ยวๆ บนปลายก้านดอกย่อย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปเรียวยาว กลีบดอกโคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด
ปลายแยกเป็น 6 แฉก   มีส่วนที่ยื่นออกมาเป็นรูปแถบเรียวเล็ก ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-10 เซนติเมตร
ประโยชน์ :
ใบ นำเอามาย่างไฟ พันแก้ฟกช้ำ บวม เคล็ดขัดยอก ใช้อยู่ไฟหลังคลอด หัว มีรสขม ในอินเดียใช้เป็นยาระบาย
ขับเสมหะ รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี
ผล : ผลแห้งแตก เมล็ดรูปกลม สีดำ
เมล็ด รูปร่างกลม ๆ เล็ก แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล ชอบขึ้นที่ดินชื้นแฉะ พบได้ทั่วประเทศ แยกหน่อปลูก
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย :
ปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่ราชการ

ลักษณะวิสัย
ลำต้น

กลับหน้าหลัก
ใบ
ดอก
ดอก

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้   พลับพลึงตีนเป็ด , พลับพลึงหนู , พลับพลึงแมงมุม     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-153